IoT กำลังจะเปลี่ยนโลก?

IoT หรือ Internet of Things (อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง) หมายถึง วัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ สิ่งของเครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตอื่น ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีการฝังตัวของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ซึ่งวัตถุสิ่งของเหล่านี้ สามารถเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ อีกทั้ง สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมและถูกควบคุมได้จากระยะไกล ผ่านโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่ IoT สามารถประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ทุกอย่างที่ถูกออกแบบมาให้เชื่อมโยงกันได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อที่จะสามารถสื่อสารกันได้

สรรพสิ่ง (Things)

ในความหมายของ IoT “สรรพสิ่ง” หมายถึง อุปกรณ์ สิ่งของเครื่องใช้ที่แตกต่างหลากหลาย เช่น เครื่องจักรต่าง ๆ ในโรงงาน รถยนต์ สกู๊ตเตอร์ จักรยานที่มีเซ็นเซอร์ในตัว เครื่องใช้ภายในบ้าน กล้องอัจฉริยะ นาฬิกาเด็ก อุปกรณ์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ แท็กไบโอชิปที่ติดกับปศุสัตว์ อุปกรณ์วิเคราะห์ดีเอ็นเอในสิ่งแวดล้อมหรืออาหาร หรืออุปกรณ์ภาคสนามของนักผจญเพลิงในภารกิจค้นหาและช่วยเหลือ หุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ และอื่น ๆ ซึ่งไม่เว้นแม้ เสียงพูดสั่งงานของมนุษย์

การประยุกต์ใช้งาน IoT (Internet of Things) ในปัจจุบัน

ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้นำ IoT ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างรายได้ โอกาส และความสะดวกสบายยิ่งขึ้นในอุตสาหกรรมและโครงการต่าง ๆ เช่น

– Smart Industry เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม Industry 4.0

– Smart City เพื่อนำมาปรับใช้ร่วมกับโครงสร้างพื้นฐาน และระบบต่าง ๆ ของเมืองใน 4 ด้าน คือ ด้านการท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ โดยพัฒนา IoT เพื่อตอบสนอง     และอำนวยความสะดวกในแต่ละด้านของเมือง อาทิ

– Smart Living เมืองน่าอยู่
– Smart Governance เมืองที่บริหารจัดการโปร่งใส
– Smart Mobility เมืองที่สามารถติดต่อสื่อสารและเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย
– Smart People เมืองที่ให้ความเท่าเทียมกันในสังคม
– Smart Safety เมืองปลอดภัย
– Smart Economy เมืองที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ
– Smart Environment เมืองประหยัดพลังงาน
– Smart Tourism เมืองท่องเที่ยว
– Smart Farming เมืองเกษตรกรรมทันสมัย

– Smart Life เพื่อให้รูปแบบของการใช้ชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไปจากเดิม มนุษย์สามารถพูดคุยกับสิ่งของได้สิ่งของสามารถพูดคุยและรับรู้พฤติกรรมของมนุษย์ได้ ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยีจะมีการพัฒนาให้สิ่งของสามารถพูดคุยกันเองได้โดยไม่ต้องผ่านมนุษย์

จะเห็นได้ว่า Internet of Things (IoT) เริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตภายในบ้าน หรือที่ทำงาน หรือระหว่างการเดินทาง  IoT จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนการทำงาน และทำให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี IoT ที่เชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ก็อาจมีผลก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภัยคุกคามตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงองค์กรมากขึ้น ดังนั้น การเตรียมความพร้อมรับมือภัยคุกคามที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีเป็นประเด็นที่ทุกคนให้ความสำคัญ เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในยุคดิจิทัล

 

อ้างอิง

– บทความสาธารณะ Wikipedia  https://th.wikipedia.org/wiki/อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

– เอกสาร “ขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” NECTEC
https://www.slideshare.net/PanitaPongpaibool1/driving-thailand-40-with-internet-of-things-67921694

– คลิปวิดีโอ NETPIE: Network Platform for Internet of Everything  :  https://youtu.be/T_kpTnvqJ1E

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *